เมนู


อรรถกถาสูตรที่ 7



ในสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า รุกฺขชาตานํ เป็นฉัฏฐีวิภัติ ใช้ในอรรถ ปฐมาวิภัติ
อธิบายว่า รุกฺขชาตานิ ต้นไม้ทั้งหลาย. บทว่า รุกฺขชาตานิ นี้เป็น
ชื่อของต้นไม้ทั้งหลาย. บทว่า ยทิทํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า มุทุตาย
ได้แก่ เพราะเป็นไม้อ่อน. ทรงสั่งว่าต้นไม้บางชนิด เลิศแม้ด้วยสี
บางชนิดเลิศด้วยกลิ่น บางชนิดเลิศด้วยรส บางชนิดเลิศด้วยเป็น
ของแข็ง. ส่วนไม้จันทน์ เป็นเลิศคือประเสริฐ เพราะเป็นไม้อ่อน
และเหมาะแก่การงาน.
ในคำว่า จิตฺตํ ภิกฺขเว ภาวิตํ พหุลีกตํ นี้ท่านประสงค์เอาจิต
ที่อบรมและกระทำบ่อย ๆ ด้วยอำนาจสมถะและวิปัสสนา. ส่วน
ท่านกุรุนทกวาสีปุสสมิตตเถระกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ จิตในจุตตถฌาน
อันเป็นบาทของอภิญญาเท่านั้น ชื่อว่า จิตอ่อนโยนและเหมาะแก่
การงานโดยส่วนเดียว.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 7

อรรถกถาสูตรที่ 8



ในสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เอวํ ลหุปริวตฺตํ ความว่า เกิดเร็วดับเร็วด้วยอาการ
อย่างนี้ ศัพท์ว่า ยาวญฺจ เป็นนิบาตใช้ในอรรถเท่ากับอธิมัตตะ มี

ประมาณยิ่ง. อธิบายว่า มิใช่ทำได้อย่างง่ายนัก. บทว่า อิทํ เป็น
เพียงนิบาต. ในบทว่า จิตฺตํ ก่อนอื่น อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
เป็นภวังคจิต. แต่ท่านปฏิเสธคำนั้นแล้วกล่าวว่า จิตดวงใดดวงหนึ่ง
โดยที่สุดแม้จักขุวิญญาณ ก็ประสงค์เอาว่าจิตในที่นี้.
แต่ในที่นี้ พระเจ้ามิลินท์ ตรัสถามพระนาคเสนเถระ ผู้เป็น
พระธรรมกถึกว่า ท่านพระนาคเสน จิตตสังขารที่เป็นไปชั่วขณะ
ลัดนิ้วมือเดียว ถ้าเป็นรูปร่างจะเป็นกองใหญ่เท่าไร ? พระนาคเสน
ตอบว่า มหาบพิตร ข้าวเปลือกร้อยวาหะ หย่อนครึ่งวาหะ 7 อัมพนะ
และ 2 ตุมพะ ย่อมไม่ถึงแม้การนับ ย่อมไม่ถึงแม้การคำนวน ย่อม
ไม่ถึงแม้ส่วนของการคำนวนแห่งจิตที่เป็นไปชั่วขณะลัดนิ้วมือเดียว.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจง
ตรัสว่า แม้ข้ออุปมา ก็ทำได้มิใช่ง่าย. แก้ว่า ก็แม้ท่านปฏิเสธอุปมา
ด้วยข้าวเปลือกก็ได้กระทำอุปมา ความยาวของกัปป์ โดยเปรียบเทียบ
กับภูเขาโยชน์หนึ่ง กับพระนครเต็มไปด้วยเมล็ดพันธ์ผักกาดยาว
โยชน์หนึ่ง เปรียบทุกข์ของสัตว์นรกโดยเปรียบด้วยจกแทงด้วยหอก
100 เล่ม เปรียบความสุขในสวรรค์ โดยเปรียบเทียบกับสมบัติ
พระเจ้าจักรพรรดิ์ฉันใด แม้ในที่นี้ก็พึงกระทำอุปมาฉันนั้น. ใน
มิลินทปัญหานั้น ท่านกระทำอุปมา ด้วยอำนาจคำถามอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้าทำอุปมาได้ไหม ? ในสูตรนี้ ท่านไม่กระทำอุปมาไว้
เพราะไม่มีการถาม. จริงอยู่ พระสูตรนี้ ท่านกล่าวไว้ในตอนจบ
พระธรรมเทศนา. ในพระสูตรนี้ท่านเรียกชื่อว่า จิตตราสี ( กองจิต )
ด้วยระการฉะนี้.
จบ อรรรถกถาสูตรที่ 8

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปภสฺสรํ ได้แก่ ขาวคือ บริสุทธิ์. บทว่า จิตฺตํ ได้แก่
ภวังคจิต. ถามว่า ก็ชื่อว่าสีของจิตมีหรือ ? แก้ว่าไม่มี. จริงอยู่
จิตจะมีสีอย่างหนึ่งมีสีเขียวเป็นต้น หรือจะเป็นสีทองก็ตาม จะอย่างใด
อย่างหนึ่งท่านก็เรียกว่าปภัสสร เพราะเป็นจิตบริสุทธิ์. แม้จิตนี้
ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะปราศจากจปกิเลส เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปภัสสร.
บทว่า ตญฺจ โข ได้แก่ ภวังคจิต นั้น. บทว่า อาคนฺตุเกหิ ได้แก่
อุปกิเลส ที่ไม่เกิดร่วมกัน หากเกิด ในขณะแห่งชวนจิตในภายหลัง.
บทว่า อุปกิเลเสติ ความว่า ภวังคจิตนั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่า
เศร้าหมองแล้ว เพราะเศร้าหมองแล้วด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น.
เศร้าหมองอย่างไร ? เหมือนอย่างว่า บิดามารดา หรืออุปัชฌาย์
อาจารย์มีสมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ไม่ดุว่า ไม่ให้ศึกษา
ไม่สอน ไม่พร่ำสอน บุตร หรืออันเตวาสิก และสัทธิวิหาริกของตน
เพราะเหตุที่บุตร และ สัทธิวิหาริกอันเตวาสิก เป็นผู้ทุศีล มีความ
ประพฤติไม่ ไม่สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติ ย่อมได้รับการติเตียน
เสียชื่อเสียงฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น. พึงเห็นภวังคจิต
เหมือนบิดามารดา และอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้สมบูรณ์ด้วยความ
ประพฤติ. ภวังคจิต แม้จะบริสุทธิ์ตามปกติ ก็ชื่อว่าเศร้าหมอง
เพราะอุปกิเลสที่จรมา อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่เกิดพร้อมด้วยโลภะ
โทสูและโมหะ ซึ่งมีความกำหนัดขัดเคือง และความหลงเป็นสภาวะ